เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตเกี่ยวกับครูภูมิปัญญาปราชญ์ล้านนาด้านทักษะอาชีพวิถีล้านนา
โคม เป็นชื่อของเมืองโบราณในเชียงราย ชื่อว่า "สุวรรณโคมคำ" โคม
ใช้เป็นเครื่องสักการะและใช้ส่องแสงสว่างอันเก่าแก่ของคนในภาคต่าง ๆ ใช้กันทั่วทุกภาค
แต่สำเนียงจะแตกต่างกันไป ภาคเหนือจะเรียกว่า "โกม"
โคมไฟล้านนา หรือโกมล้านนา
เป็นงานหัตถกรรมพื้นเมืองจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สืบอทอดต่อกันมา
และได้ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นเพื่อให้คงอยู่สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันในภาคเหนือ
ด้วยเหตุที่การดำรงชีวิตผูกพันกับศาสนา การสร้างผลงานทางศิลปะจึงมีแรงบันดาลใจจากความศรัทธา
ปัจจุบันชาวล้านนานิยมนำมาใช้ในงานพิธีกรรมต่างๆ
ภูมิปัญญาการนำทรัพยากรในท้องถิ่นมาใช้ย้อมสี ในสมัยโบราณชาวบ้านนำเปลือกไม้ รากไม้ ดอก ผล ที่มีในท้องถิ่นนำมาย้อมผ้า ทำให้ได้สีที่สวยงามตามธรรมชาติ และไม่เป็นอันตราย
กลองล้านนา เป็นเครื่องตีให้จังหวะที่มีหลายชนิด หลายขนาด ในท้องถิ่นภาคเหนือ มีทั้งประเภทขึ้นหนังหน้าเดียวและประเภทขึ้นหนังสองหน้า
ตุง
เป็นภาษาถิ่นประจำภาคเหนือซึ่งตรงกับคำว่า ธง ในภาษาไทยภาคกลางและตรงกับคำว่า ธุง
ในภาษาท้องถิ่นอีสาน มีลักษณะเป็นแผ่นวัตถุ ส่วนปลายแขวนติดกับเสาห้อยเป็นแผ่นยาวลงมา
ปัจจุบันชาวล้านนาส่วนใหญ่ยังนิยมสร้างตุง เพื่อใช้ในพิธีกรรมต่ทางศาสนา ประเพณีเกี่ยวกับการตาย
งานเทศกาลเฉลิมฉลอง และนิยมใช้ตุงประดับตามสถานที่จัดงานเพื่อความสวยงาม
ตุงมีหลายชนิด แต่ละชนิดจะมีรูปแบบ ขนาด
และรายละเอียดวัสดุที่ใช้ในการตกแต่งแตกต่างกันไปตามความเชื่อ และพิธีกรรมทางศาสนา
ตลอดจนความนิยมของท้องถิ่นและการใช้งาน
ในที่นี้ขอยกตัวอย่างการทำตุงล้านนา 4 ประเภท
จากปัจจัยทางธรรมชาติและปัจจัยมนุษย์ ส่งผลให้ชื่อของสับปะรดนางแล เป็นที่รู้จักของคนในจังหวัดเชียงราย และ ผู้ที่ไปเที่ยวในจังหวัดเชียงราย ซึ่งตำบลนางแล นับว่าเป็นแหล่งปลูกสับปะรดที่อร่อย มีรสชาติดี จึงกลายเป็นผลไม้ที่มี ชื่อเสียงของจังหวัด ดังดำขวัญที่ว่า "เหนือสุดแคนสยาม อร่ามดอยตุง ผดุงคุณธรรม เลิศล้ำข้าวสาร หอมหวานลิ้นจี่ สตรีโสภา ชาเลิศรส สับปะรดนางแล"
การเลี้ยงสุกรแบบธรรมชาติ (หมูหลุม) ถ้าจะให้ประสบความสำเร็จต้องปฏิบัติให้ถูกหลักวิธีการ เช่น การ ดูแลสภาพทั่วไปของพื้นคอก การผสมอาหาร การกินอาหารของสุกรตลอดจนการจัดการและดูแลเรื่องสุขภาพ ของสุกร เป็นต้น อาหารสำหรับเลี้ยงสุกรแบบธรรมชาติ (หมูหลุม) จะเน้นการใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ในชุมชนและท้องถิ่นเป็นหลัก ได้แก่ ผลไม้ และพืชสีเขียวชนิดต่าง ๆ
ชาวล้านนานิยมรับประทานที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ ผักป่า หรือว่าผักข้างรั้ว
กินข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก นิยมแกงแบบน้ำขลุกขลิก และน้ำพริกค่อนข้างแห้ง
เพราะรับประทานด้วยวิธีปั้นข้าวเหนียวเป็นก้อนเล็กจิ้มลงไปในอาหาร การจัดสำรับอาหาร
จัดใส่ขันโตกที่ทำมาจากไม้หรือหวาย
ขันโตก เป็นภาชนะที่ใส่อาหารไว้รับประทานของคนล้านนา การรับประทานอาหารอาหารของชาวล้านนา
มักจะให้พ่อแม่ หรือญาติผู้ใหญ่ที่อาวุโสที่สุดในบ้านรับประทานเป็นคนแรก จากนั้น
ลูกหรือผู้อ่อนอาวุโสจึงจะลงมือรับประทาน ซึ่งเป็นประเพณีนิยมมาแต่โบราณกาล
อาหารขันโตกล้านนา
ได้แก่ ไส้อั่ว แคบหมู แกงฮังเล ลาบ แกงอ่อม น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง พร้อมผักจิ้ม อาหารหวาน
เช่น ข้าวแต๋น
ขนมจ็อก